Sunday, August 17, 2014

การทำนาน้ำตม ด้วยเครื่องหยอดเมล็ดข้าวของอินเดีย

เครื่องหยอดเมล็ดข้าว โทร: 095-608-3175
เครื่องหยอดเมล็ดข้าวของอินเดีย

ที่อินเดียและบังคลาเทศเค้าใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าวแบบนี้กันมานานมากแล้ว เครื่องหยอดเมล็ดข้าวงอกของอินเดียรุ่นนี้เป็นรุ่นล่าสุด ซึ่งปรับปรุงและพัฒนาจากรุ่นต้นแบบแล้ว ทำให้เมล็ดข้าว ที่หยอดสม่ำเสมอกว่า ผลจากการทดสอบแล้วกับข้าวไทย หอมปทุมฯเมื่อ (30 กย. 54) ในเงื่อนไขที่ ดูความยาวของเมล็ดข้าว ปรับความกว้างของรูปล่อยเมล็ดต่ออัตราการร่วงในการหยอด ผลออกมาเป็นที่พอใจมาก ประหยัดจนเหลือเชื่อ บอกได้เลยว่า คุ้มมากๆ

แค่ต้นทุนค่าพันธุ์ข้าว ก็ประหยัดไปแล้วประมาณ 625 บาท/ไร่ (คนที่ให้ข้อมูลนี้ บอกว่า) เค้าทำ 9 ไร่ แค่หน้า(ฤดู) เดียวก็คุ้มเกิน ราคาแล้วครับ ยังไม่นับหากไปรับจ้างลากอีก พูดคำเดียวว่า เวิร์คมาก ๆ ครับ กระบอกใส่ข้าว ชุดหนึ่งมีกระบอกใส่ข้าว 4 ลูก ตัวกระบอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม (ยาวเท่าไหร่ไม่บอก) รูเมล็ดหล่น 9 มิล มีรูข้างละ 14 รู มีจุก (สีเหลือง) ปิดเพื่อให้หยอดข้าวได้ข้างละ 7 รู ความยาวของก้านที่สวมกระบอกยาว 2 เมตร ครับ

การประกอบ การขนส่งง่าย เบาแรง ใช้มอเตอร์ไซด์ติดรถพ่วงข้าง บรรทุกอุปกรณ์และกระสอบข้าวที่แช่พร้อมหยอด คนเดียวทำได้สบาย ที่อินเดีย / บังคลาเทศ เค้าลากครั้งเดียวพร้อมๆ กันใช้ 3 เครื่อง ลาก 3 คน นา 25 ไร่ ลากกันไป คุยกันไป ลากวันเดียวก็เสร็จ 3 เครื่องแค่ 15,000 ราคาเท่ากับข้าวเกวียนเดียวเอง ลงทุนปีเดียวเกินคุ้ม

จากการทดลอง พบปัญหาดังนี้

1. แกนเหล็กกลางที่ใส่กระบอกใช้ลาก เป็นเหล็ก 3 ท่อน เอามาต่อกันแล้วใช้เพียงน๊อตยึดให้ติดกัน ปัญหาคือ แกนจะอ่อนโย้เย้ได้

วิธีแก้ปัญหาคือ ถ้าเชื่อมให้ติดกันหรือ ถ้าเปลี่ยนเป็นเหล็กยาวท่อนเดียวจะแข็งแรงดีขึ้น

2. สำหรับนาหล่ม (มาก) ล้อจะจมดินมากหน่อย ทำให้กระบอกใส่ข้าวติดดินหรือติดเลนหรือน้ำ เพราะภาคกลางจะเป็นดินเหนียว และต้องทำเทือกก่อนหว่าน เมื่อเปียกน้ำแล้วข้าวที่อยู่ในกระบอกจะไม่ค่อยหล่นเพราะรูเปียกน้ำเปื้อนโคลน (คือดินไปอุดรู ว่างั้น)

วิธีแก้คือ ทำล้อให้สูง (กว้าง) กว่าเดิมในพื้นที่นาหล่ม หรือปล่อยทิ้งให้เทือกแห้งอีกหน่อย น่าจะแก้ปัญหาได้

3. การลาก ในนาหล่ม จะต้องใช้กำลังมาก ผมลองทำเองแล้ว ตะคริวกินเลยครับ ที่คิดไว้คือ ใช้รถไถนาเดินตามลากแทน โดยดัด แปลงเอาเครื่องหยอดติดพ่วงด้านหลัง แต่ไม่ค่อยสะดวกเท่าที่ควร

ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง หากมีน้ำในนา เวลาดินปนน้ำโคลนตกลงมาโดนกงล้อของเครื่องลาก ก็จะกระเซ็นมา โดนรูข้าวออกทำให้บางทีก็เป็นสิ่งกีดขวางทางเข้าออก ทำให้ข้าวออกไม่สะดวก

การแก้ไข

1. สังเกตว่าถ้าเราไขน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย แล้วปล่อยให้หน้าดินแห้ง ก็จะลดปัญหาได้

2. ต้องลากด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ ไม่เร็วหรือกระชาก เพราะว่า ผมอ่านจากผลการทดสอบของ มหาวิทยาลัย ทมิฬนาดูลที่อินเดีย การลากเร็ว หรือลากช้า ด้วยแรงคน จะมีผลต่ออัตราเมล็ดข้าวที่ใช้ต่อไร่น้อยมาก

ดังนั้น ทำเทือกแล้วปล่อยน้ำให้แห้งมากหน่อย แห้งกว่านาหว่าน ไม่อย่างนั้นจะควบคุมคุณภาพการหล่นของเมล็ดข้าวได้ยาก ตมที่ ติดกับล้อแล้วหล่นลงมาทำให้แถวไม่เป็นระเบียบ ในแนวที่ติดกับล้อ

สรุป

- การเตรียมดินสำหรับเครื่องหยอด ไม่ควรให้เป็นเลนโคลนลึกเกิน 5 นิ้ว และควรระบายน้ำออก ปล่อยทิ้งไว้จนเกือบแห้ง (อาจจะต่างจากการทำนาหว่านน้ำตมปกติเล็กน้อย) เพื่อให้การลากไม่กินแรงหนักเกินไป และถ้าเลนโคลนลึกเกินไป น้ำโคลนอาจจะสัมผัสหรือกระเด็นถูกรูหยอด ทำให้เมล็ดข้าวไม่ค่อยออก(จากรู) นอกจากนี้ ถ้าเลนโคลนลึก เมล็ดข้าวบางส่วนอาจจมโคลนเน่าตายไม่งอกต่อ

- บางคนมีแนวคิดขยายล้อให้กว้างหรือสูงขึ้น เผื่อใช้กับนาที่เป็นเลนโคลนลึก แต่อาจส่งผลดังนี้

ถ้ารูหยอดอยู่สูงกว่าพื้นดินมาก เมล็ดข้าวจะตกกระจายมากขึ้น จะกลายเป็นลักษณะนาหว่าน คือแถวจะไม่คมและระยะหยอดจะไม่ได้ตามที่คิดไว้ อาจเป็นปัญหากับผู้ที่จะใช้งานร่วมกับเครื่องพรวนหญ้า (Rotary Weeder) ต่อไป

เทคนิคการเตรียมดินสำหรับนาที่จะใช้เครื่องหยอดแถวข้าวงอก (Rice Drum Seeder)จากประสบการณ์ของผู้ใช้เครื่อง หยอดเมล็ดอีกกลุ่มหนึ่ง

รอบเเรก ลากผานพรวน 6 x 20 นิ้ว ดินเเห้ง ลึก 4 นิ้ว ตากดินให้เเห้ง เอาน้ำเข้า ใส่จุลินทรีย์ ทิ้งไว้สัก 5 วัน ลงโรตารี่จอบหมุน เอารอบเร็วสุด ดินจะเป็นเลนในรอบเดียวเลย จากนี้ใช้ ท่อเหล็ก 2 นิ้ว ยาว 3.5 เมตร ติดท้ายโรตารี ลากอีกรอบ ให้เรียบ ก็เป็นใช้ได้

การเตรียมดินเป็นโคลนลึก ไม่เป็นผลดีต่อเมล็ดข้าวงอก เพราะบางส่วนจะจมโคลนตาย ไม่ค่อยงอก และการลากจะหนักแรงมากและมีโอกาสที่น้ำโคลนจะสัมผัสกับรูกระบอกข้าว ทำให้เมล็ดข้าวไม่ค่อยออก(จากรู)


คำถามที่พบบ่อย

ขอทราบอัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้ไร่ละกี่กิโลกรัม ผมกำลังจะหยอดแต่กะอัตราเมล็ดพันธุ์ไม่ถูก

ตอบ เครื่องหยอดเมล็ดข้าวงอกของเวียดนาม ขนาดรูหยอดโต 0.8 มม. ของอินเดีย รูโต 0.9 มม.ใช้อัตราเมล็ด พันธุ์ดังนี้ครับ ถ้าใช้รูถี่ 10 กก/ไร่ ถ้าใช้รูห่าง 6 กก./ไร่

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความยาวของเมล็ดพันธุ์ข้าวและความยาวรากของข้าวงอกจากการบ่มด้วย

ขั้นตอนการเตรียมดินจึงมีความสำคัญมาก อย่าให้เป็นเลนลึกเกิน 5 นิ้ว (ทำเทือกแล้ว อาจต้องพักไว้ 4-5 วัน ให้ดินเซ็ทตัวครับ)และระบายน้ำออกให้มากที่สุด พยายามอย่าให้มีบริเวณน้ำขัง เพราะ การหยอดเมล็ดลงที่ที่มีน้ำ เมล็ดจะเคลื่อนตำแหน่งทำให้แถวเบี้ยวได้ครับ

ถาม ผมยังสงสัยอยู่ว่า...ถ้าเราหยอดจะมีการจำกัดหญ้าไม่ให้ขึ้นก่อนข้าวยังไงครับ แล้วอีกอย่างจะทำอย่างไร ไม่ให้เมล็ดข้าวเคลื่อนย้ายหรือกระจัดกระจายไปไหน

ตอบ เรื่องหญ้าเกิดแซงข้าวใช้วิธี ตัดหญ้าตามร่อง จึงเป็นที่มาของการหยอดเป็นแถวเพื่อให้การจัดการหญ้าที่เรียบง่าย แต่ถ้าเราหว่านก็จะไม่เป็นแถวยากต่อการจัดการหญ้า นาดำหรือนาหยอด ถ้าใช้เครื่องกำจัดหญ้า (Rotary Weeder) จะได้ผลดี

ถาม ทำอย่างไรไม่ให้ข้าวกระจายหลังหยอดเมล็ด เพราะเมื่อเวลาเราหยอดเมล็ดแล้วข้าวจะอยู่บนพื้นนา มีโอกาสที่จะถูกนกกิน หรือเมื่อเวลาปล่อยน้ำเข้าแปลงนาจะกระจัดกระจายได้

ตอบ เราจำเป็นต้องทำพื้นนาให้มีความชื้นอยู่จนกว่าข้าวจะกลายเป็นต้นกล้าขึ้นมา เมื่อข้าวเป็นกล้าแล้ว รากก็จะยึดกับพื้นนาได้ หลังจากนั้นก็เติมน้ำเข้านาได้แล้ว (ที่สำคัญคือการทำพื้นนาให้มีความชื้นในระหว่างเป็นกล้า นั้นก็หมายความว่าต้องมีความชื้นอยู่ประมาณ สิบ- สิบห้าวัน)

อีกอย่างหนึ่ง ข้าวงอกที่หยอดในวันสองวันก็จะมีรากงอกออกมาแล้ว รากเมล็ดข้าวก็เจาะลงพื้นดินได้และจะยืดไม่ให้ลอยไปตาม น้ำได้ โดยปกติก็จะรอให้ข้าวงอกเป็นต้นก่อนจึงค่อยปล่อยน้ำเข้า เหมือนนาหว่านน้ำตมครับ เรื่องนี้ต้องระวังก่อนหว่านต้องสังเกตว่ามีเค้าฝนฟ้าจะตกไหม เพราะหากหว่านแล้วฝนตกเมล็ดข้าวอาจโดนฝนชะไปกับน้ำได้เหมือนก้น


ถาม อยากทราบระยะห่างของแต่ละแถว และ ระยะห่างของแต่ละกอในแถวเดียวกัน ของต้นข้าวที่เหมาะสมที่สุดครับ

ตอบ ดินดี 25 x 25 ซม.เลยครับ ดินดีน้อย 20 x 20 ซม. ผลผลิตและการเจริญเติบ จะบอกคุณเองตอนเก็บเกี่ยวครับ สภาพแต่ละท้องที่ แตกต่างกัน และธรรมชาติที่เราเข้าใจว่าดี คือเราคิดไปเอง


ข้อแย้ง
- นาหยอดน่าจะมีค่าแรงหยอดด้วยนะครับ
- การคิดต้นทุน น่าจะมีค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกด้วย
- เนื่องจากพื้นที่นาหยอดมากกว่าจึงทำให้ตัวเลขต่อตารางเมตรได้เปรียบ
- มีต้นทุนเรื่องค่าน้ำมันเครื่องสูบน้ำด้วยหรือเปล่าครับ

ผมเห็นตัวเลขนาดำเครื่อง ก็แปลกใจเหมือนกันสำหรับผลผลิตที่น้อยไปหน่อย แต่ถ้าให้ผลผลิตเท่ากับนาหยอด ต้นทุนนาหยอดก็ยังน้อยกว่าอยู่ดี

ตอบ
ทำนาหยอดแถว สามารถประหยัดต้นทุนหลัก ๆ ในส่วนของ เมล็ดพันธุ์ การเตรียมกล้า ค่าดำนา หรือค่าโยน ประมาณ 1,200 - 1,400 บาท/ไร่ ถ้าประมาณผลผลิตที่ 550 – 600 กก./ไร่

ดังนั้น ประหยัดหรือลดต้นทุนได้ 2.18 - 2.54 บาท/กก.

ที่มา: http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2903




2 comments:

  1. ราคาขายทั้ง 2 แบบนี้ กี่บาทครับ.?.

    ReplyDelete
  2. ขอราคาทั้งสองรุ่นด้วยครับ

    ReplyDelete